Header Ads

รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดประชุม “NURSING IN THE DIGITAL EDGE” การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน

รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดประชุม “NURSING IN THE DIGITAL EDGE”

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2565 “NURSING IN THE DIGITAL EDGE” การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน  เมื่อวันที่  30 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์



          ท่ามกลางสังคมในยุคของการเปลี่ยนแปลงของประชากร การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน ตลอดจนสถานการณ์ของโรคระบาด covid-19 และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ทำให้ทุกองค์กร ทุกวิชาชีพ ต่างต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด เพื่อความมั่นคง และเกิดความยั่งยืน จำเป็นต้องมีการพัฒนาให้เกิด  Digital transformation ทั้งด้านการบริหาร การบริการ การศึกษา และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน


          ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  ได้ตระหนักเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ที่มีความสำคัญและท้าทายสำหรับพยาบาลในปัจจุบันและอนาคต  จึงได้จัดประชุมวิชาการพยาบาล ประจำปี 2565 หัวข้อ NURSING IN THE DIGITAL EDGE  ในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้พัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ และ ทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการการพยาบาลที่มีมาตรฐานสูง เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงรวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย รูปแบบการประชุมเป็นการบรรยายและการอภิปราย โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และ สถาบันต่าง ๆ ผ่านระบบ Hybrid Meeting โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทั่วประเทศ จำนวน 554 คน เป็นพยาบาลที่ประชุม on site จำนวน 433 คน และแบบ on line จำนวน 121 คน ในระยะเวลาการประชุมทั้ง 2 วัน ผู้เข้าประชุมได้รับองค์ความรู้อย่างมากมายทั้ง หัวข้อ Digital transformation ทั้งในระดับ Healthcare system and nursing service , PDPA for healthcare , Metaverse hospital sharing ,Digital in continuing professional development and lifelong learner



          ทั้งหมดนี้จะส่งเสริมให้พยาบาลมีองค์ความรู้ด้าน High Technology แต่ศาสตร์ทางการพยาบาลที่ทุกคนไม่ควรลืมและละทิ้งโดยเด็ดขาดคือ High Touch จึงนำมาเป็นหัวข้อสุดท้ายในการประชุมวิการพยาบาลครั้งนี้ ถึงแม้การประชุมจะเสร็จสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่จากข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุม จะเป็นแรงผลักดันให้ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จะไม่สิ้นสุดในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลที่เป็นต้นแบบ และยินดีที่จะนำเสนอ แบ่งปันองค์ความรู้ดังกล่าวให้แก่พยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สมกับคำว่า นักรบชุดขาว ที่ปวารณาตัวจะต่อสู้และผ่าฟันต่อการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ สามารถนำศาสตร์และศิลป์ทั้งด้าน High Touch และ High Technology มาให้การพยาบาล เพื่อให้ประชาชนทุกคน มี สุขภาวะที่ดี อย่างยั่งยืนตลอดไป

          นางสาวเฉลาศรี  เสงี่ยม  หัวหน้าพยาบาล  กล่าวว่า  “เนื่องจากตอนนี้ได้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ตั้งแต่สถานการณ์โควิดที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลไม่ต้องเข้าใกล้ผู้ป่วยมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกล้องที่ต้องติดในหองของคนไข้ เพื่อการสื่อสารกับคนไข้ที่อยู่ที่บ้านและใช้ในเรื่องของเทเลฯ หรือไลน์แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แต่ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ อย่างเช่นเทเลคลินิก สำหรับคนไข้ที่มีอาการคงที่อาจไม่ต้องจำเป็นต้องเข้ามาที่โรงพยาบาลสามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียเวลา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยทางคุณหมอจะมีจอรับการสื่อสารกับคนไข้ที่บ้านเชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบ WIFI หรือโทรศัพท์มือถือที่สื่อสารโดยตรงต่อกันได้ และโหลด “แอพพลิเคชั่นจุฬาแคร์” เท่านี้ก็สามารถไปรับยาหรือซื้อยาที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านท่านได้


รวมไปถึงการเจาะเลือดเพื่อเช็คน้ำตาล หรือการวัดค่าความดันก็สามารถวัดหรือกระทำเองได้ และส่งข้อมูลให้กับคุณหมอเพื่อประเมินอาการของคนไข้ได้ด้วยเช่นกัน โดยคุณหมอและพยาบาลจะเป็นผู้ให้ข้อมูลความรู้ในการเจาะเลือดหรือวัดความดันกับผู้ป่วยให้เข้าใจและกระทำเองได้ ทั้งนี้คุณหมอจะมอบองค์ความรู้การดูแลรักษาตัวเองให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง


เนื่องจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่มีผู้เดินทางเข้ามารับการรักษาค่อนข้างจำนวนมาก บางครั้งเตียงคนไขจะเต็มไม่เพียงพอต่อคนไข้ ผู้เข้ารับการรักษาจึงอาจเข้าถึงค่อนข้างยากและต้องใช้เวลามาก ด้วยเหตุนี้เราจึงฝึกให้ทีมพยาบาลได้ใช้เทคโนโลยีด้วยระบบเทเลฯเพื่อเชื่อมต่อประสานกับคนไข้ผู้สูงวัยได้ง่ายขึ้น

วิทยากรที่ร่วมบรรยาย

หัวข้อ Metaverse hospital sharing 

# People, Healthcare and The Metaverve 

พันตรี นพ.ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์ อาจารย์แพทย์ ประจำภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประธานอนุกรรมการ IT ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

# MetaMED: by Doctor for People 20 mins

รศ. พญ. มัญชิมา มะกรวัฒนะ  ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

# Web 3.0, Crypto and The Metaverve 

อ.ปรมินทร์ อินทร์โสม 

# Innovation in Healthcare: Future is Now 

อ.นพ.จตุพงษ์ จันทร์ทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ รพ.ธรรมศาสตร์  

Moderator 

พว.ปวีณา แน่นหนา ผู้ตรวจการพยาบาล กลุ่มงานการพยาบาลเฉพาะทางผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

นางสาวเฉลาศรี  เสงี่ยม  หัวหน้าพยาบาล

#kaomaadoo.net 

CHATCHAI  DAENGKASEM 

0830760579


ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.