Header Ads

สทท. เชื่อมั่นรายได้ท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาทเป็นไปได้ เสนอตั้ง Team Thailand ปั้นการตลาดแบบมุ่งเป้า สร้างสมดุล Demand-Supply กระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองน่าเที่ยว

สทท. เชื่อมั่นรายได้ท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาทเป็นไปได้ เสนอตั้ง Team Thailand ปั้นการตลาดแบบมุ่งเป้า สร้างสมดุล Demand-Supply กระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองน่าเที่ยว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ระดับ 79 ลดลงจากไตรมาส 1/2567 ที่ระดับ 81 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ส่วนไตรมาสหน้า 3/2567 อยู่ที่ระดับ 75 ลดลงจากไตรมาสนี้แต่ดีกว่าปีที่ผ่านมา




ไตรมาสนี้ ธุรกิจบริการขนส่งผู้โดยสาร บริษัทนำเที่ยว ธุรกิจสปา สถานบันเทิงและแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเมินรายได้ไตรมาสนี้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจที่พักแรม ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึกรายได้ลดลง ในภาพรวมประเมินว่ารายได้อยู่ที่ร้อยละ 48 เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ธุรกิจร้านขายของฝากมีการฟื้นตัวของรายได้ช้ากว่าธุรกิจอื่น อัตราการจ้างงานกลับมาแล้ว 99% สิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญคือการพัฒนาทักษะให้มีคุณภาพสูงขึ้น เรื่อง Digital Wallet ผู้ประกอบการร้อยละ 40 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่สามารถใช้กับการท่องเที่ยว และร้อยละ 76 ต้องการให้โครงการ Digital Wallet สามารถใช้กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศได้

                นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ในด้าน Demand รายได้ 3.5 ล้านล้านบาท นั้นสามารถทำได้ปัจจัยอยู่ที่นโยบายรัฐ และความพร้อมของ Supply Side รัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ได้ผลหลายอย่างเช่น มาตรการ Free Visa 93 ประเทศ-พื้นที่ / การขับเคลื่อน Soft power เพื่อการท่องเที่ยว / การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ / การผลักดันให้เกิด Mega Event ต่าง ๆ / การส่งเสริมเมืองรองให้เป็นเมืองน่าเที่ยวผ่านมาตรการภาษี

นางฉลอง สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) กล่าวว่า TFOPTA เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดกว่า 100 สมาคม ส่วนใหญ่มาจาก 55 เมืองรอง ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นเมืองน่าเที่ยว และมีนโยบายส่งเสริม เช่น มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศสำหรับนิติบุคคล และกระตุ้นการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา 15,000 บาท สมาชิก TFOPTA คือ เจ้าของสินค้าและบริการในท้องถิ่น สิ่งที่ท้าทายคือ เราต้องพัฒนาสินค้าให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรม จุดอ่อนของเมืองรอง คือ ความสะดวกในการเดินทาง ความพร้อมของบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยว และการยังไม่เป็นที่รู้จักของทั้งนักท่องเที่ยวและ Travel Agency ดังนั้นเราต้องการ 4 เรื่อง คือ การฝึกอบรมและ Workshop สร้าง 5 Must do 55 เมือง บัสทัวร์ทั่วไทย 5,000 เที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามภาค 5 ภาค การจัดมหกรรมท่องเที่ยว 5 ภาค และการจัด Fam Trip แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวให้กับ Agent และ Influencer


นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และกรรมการ ททท. กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกถือว่าทำได้ตามเป้าที่ 17.5 ล้านคน ความท้าทายอยู่ที่ครึ่งปีหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 Scenario คือ (1) Worse Case ถือเป็น รายได้ขั้นต่ำที่ต้องทำให้ได้ – 2.7 ล้านล้านบาท มาจาก 36 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1.8 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 200 ล้านคนครั้ง x 4.500 = 0.9 ล้านล้านบาท  (2) Base Case =  เป้าท้าทายที่เป็นไปใด้ = 3 ล้านล้านบาท มาจาก 38 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1.9 ล้านล้านบาท และ 220 ล้านคนครั้ง x 5.000 = 1.1 ล้านล้านบาท จากไทยเที่ยวไทย เป้านี้ถือว่าท้าทายแต่มีโอการทำได้สูง เราควรตั้งเป้าหมายที่ 3.02 ล้านล้านบาทถือเป็น New High เพราะเราเคยได้ 3.01 ล้านล้านบาทในปี 2562  (3) Best Case 3.5 ล้านล้านบาท = เป้าหมายสูงสุด ที่ทำได้จาก 40 ล้านคน x 56,000 บาท = 2.24 ล้านบาท และ ไทยเที่ยวไทยอีก 1.26 ล้านบาท = 229 ล้านคนครั้ง x 5,500 บาท


ดังนั้น โจทย์ที่ต้องทำเพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 เป็น 3.5 ล้านล้านบาท คือ (1) เติมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน จาก 36 เป็น 40 ล้านคน (2) เพิ่มค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 50,000 เป็น 56,000 บาท (3) เพิ่มจำนวนทริปและค่าใช้จ่าย ไทยเที่ยวไทย

นายชำนาญ กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ สทท. เสนอต่อภาครัฐคือ

1.        เติมนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน ระยะสั้น 1.5 ล้านคน ใน Q3 เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนและ

คนเชื้อสายจีน อาเซียน และออสเตรเลีย / Q4 2.5 ล้านคน ในช่วง Hi-Season โดย Mega Event / Joint Promotion/Influencer

2.        เพิ่ม Spending โดยเพิ่มวันพัก เพิ่มค่าใจ่ายต่อวัน เราต้องหากิจกรรมเสริม เติมเมืองน่าเที่ยว เติมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬา ชุมชนสิ่งแวดล้อม อาหาร ผลไม้ สินค้าของฝาก OTOP / GI ผ่าน Softpower ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มรายได้ 12%

3.        เพิ่มรายได้ไทยเที่ยวไทย ด้วย บัสทัวร์ทั่วไทย รัฐทัวร์ทั่วไทย อบท.เที่ยวช่วยชาติ และ Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มรายได้ 250,000 ล้านบาท ได้ในปีนี้

4.        เพิ่มพันธมิตรทางการตลาด โดยสร้าง Thailand Team 29 สำนักงาน ททท. x 10 agent ช่วยกันทำตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ร่วมกับ 100 คลังสมองท่องเที่ยวไทย

5.        เพิ่มศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการ ด้วย Tourism Cinic เช่น อบรมมัคคุเทศก์และ facilitator สำหรับ Medical & Wellness / การฝึกอบรมภาษาอาหรับ จีน รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ/ การพัฒนาท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ Mega Trend / การบริหารการเงินและภาษี / การใช้เทคโนโลยี AI & Cloud เพื่อการท่องเที่ยว การยกระดับสู่ Tourism Development Goal (STG) เป็นต้น

6.        เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อผลักดันดัชนี TTDI จากอันดับที่ 47 สู่ 25 ของโลก โดยใช้กองทุนท่องเที่ยวฯ เพื่อซ่อมสร้างคนและแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องน้ำสะอาด ป้ายบอกทาง ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.