Header Ads

มจพ. มอบยานใต้น้ำไร้คนขับแก่ กฟผ. ใช้งานตรวจสภาพทุ่นลอยน้ำและทุ่นใต้น้ำของแผงผลิตไฟฟ้า

มจพ. มอบยานใต้น้ำไร้คนขับแก่ กฟผ. ใช้งานตรวจสภาพทุ่นลอยน้ำและทุ่นใต้น้ำของแผงผลิตไฟฟ้า

  เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566  ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานพิธีส่งมอบ “ยานใต้น้ำไร้คนขับเพื่อตรวจสอบแผงผลิตไฟฟ้าลอยน้ำ” ให้แก่ คุณประเวทย์ เกิดวัดท่า ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับมอบ โดยมี รศ.ดร.รามิล เกศวรกุล หัวหน้าโครงการวิจัย


ยานใต้น้ำไร้คนขับเพื่อตรวจสอบแผงผลิตไฟฟ้าลอยน้ำ เป็นทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่การไฟฟ้า

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ดำเนินงานโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิตและหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.  เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีงบประมาณ 9,987,951.18 บาท ระยะเวลาในการสร้าง 18 เดือน ยานใต้น้ำไร้คนขับสามารถสำรวจในน้ำที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 25 เมตร ระยะทางในการสำรวจสูงสุดแบบมีสายสัญญาณที่ 250 เมตร และระยะทางในการสำรวจสูงสุดแบบไร้สายสัญญาณที่ 500 เมตร ยานใต้น้ำไร้คนขับ ติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก และระบบตรวจจับระยะด้วยเสียงรอบทิศทางแบบเชิงกล สามารถทำการขับเคลื่อนระยะไกล และถ่ายทอดภาพขณะปฏิบัติงานใต้น้ำแบบใช้สายสัญญาณได้โดยมีระบบไฟส่องสว่างใต้น้ำ พร้อมทั้งทดสอบระบบการทำงานแบบไร้สายสัญญาณใต้ของยานใต้น้ำ นอกจากนี้ยังมีคณะทีมงานวิจัยประกอบด้วย ผศ. เจนจิรา  สุขมณี มจพ. นาวาโท ผศ.ดร. ศราวุธ  ศรีนาแก้ว  สังกัดโรงเรียนนายเรือ รวมถึงนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ยานใต้น้ำไร้คนขับได้นำไปปฏิบัติงานที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ ณ เขื่อนสิรินธร และตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในเขื่อนศรีนครินทร์

  อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ถือเป็นการพัฒนายานได้น้ำไร้คนขับที่ออกแบบ และสร้างยานใต้น้ำที่สามารถตรวจสอบสภาพทุ่นลอยน้ำและทุ่นใต้น้ำของแผงผลิตไฟฟ้าได้ อีกทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพประเภทตัวกรองสัญญาณเพื่อใช้ในการตรวจสอบ  และประเมินความเสียหายเบื้องต้น

 

    ลักษณะของยานได้น้ำไร้คนขับ ถูกออกแบบและสร้างพลศาสตร์ของไหลและสร้างระบบขับเคลื่อนของยาน ให้ตัวยานทรงตัวได้ขณะลอยอยู่ในน้ำ โดยมีชุดขับดันทั้งหมด 12 ชุด ทำงานอย่างอิสระ โดยมิติของยานใต้น้ำไร้คนขับ มีตัวถังกว้าง 400 มิลลิเมตร ยาว 700 มิลลิเมตร สูง 300 มิลลิเมตร  ระบบถ่ายภาพและบันทึกวีดีโอ การประมวลผล ติดตั้งด้านหน้าหุ่นยนต์ โดยกล้องมีความละเอียด 2 ล้านพิกเซล พร้อมบันทึกวีดีโอระดับ RGB และมีไฟช่วยการมองเห็น  ยานสามารถสำรวจในน้ำความลึกไม่น้อยกว่า 25 เมตร ระยะทางไม่น้อยกว่า 250 เมตร โดยติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (USBL-Seatrac X150 และ X010) ระบบตรวจจับระยะด้วยเสียง (Multibeam sensor – Blueprint Subsea รุ่น Oculus M750D) รวมทั้งระบบตรวจจับความเร็วใต้น้ำ

 

(DVL-A50) การขับเคลื่อนระยไกล ถ่ายทอดภาพการปฏิบัติงานใต้น้ำแบบใช้สายสัญญาณโดยระบบไฟส่องสว่างใต้น้ำ

“ยานใต้น้ำไร้คนขับ” สามารถตอบโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมด้านการสำรวจ และซ่อมบำรุงใต้น้ำ จนถึงใต้ทะเล เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงานด้วยมนุษย์ โดยผลงานวิจัยชิ้นนี้สามารถลดการนำเข้ายานใต้น้ำจากต่างประเทศ และสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.เจนจิรา  สุขมณี โทรศัพท์ 089-767-0099 และชมภาพประกอบของยานใต้น้ำไร้คนขับได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1Z0jCAlqS9NJbFHJSpeRc4WDqk3Nna_Ui?usp=drive_link 

ขวัญฤทัย ข่าว/สมเกษ-วุฒิสิทธิ์ ถ่ายภาพ 

#​มจพ. มอบยานใต้น้ำไร้คนขับแก่ กฟผ.

#​kaomaadoo.net

CHATCHAI​  DAENGKASEM

0830760579​

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.